วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ระเบียบกองทุนหมู่บ้าน บ้านกลาง ตำบลโมถ่าย

ข้อบังคับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านในรูปแบบนิติบุคคล
กองทุนหมู่บ้าน บ้านกลาง หมู่ที่2 ตำบลโมถ่าย
ทะเบียนเลขที่..........................
.................................
       เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ลดราบจ่ายได้โดยการแก้ปัญหาความยากจนให้กับประชาชนในหมู่บ้านและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากฐานของประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้กำหนดข้อบังคับการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านไว้ดังนี้

หมวดที่๑
ข้อความทั่วไป

ข้อ๑. ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับกองทุนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (นิติบุคคล)

ข้อ๒. สำนักงานกองทุนตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ ๑๔๗  หมู่ ๒ ตำบลโมถ่าย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ข้อ๓. ข้อบังคับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่กองทุนได้เป็นนิติบุคคล

ข้อ๔. ข้อบังคับนี้
                กองทุนหมายความว่ากองทุนหมู่บ้าน บ้านกลางหมู่๒ ตำบลโมถ่าย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                คณะ กรรมการกองทุนหมายความว่าคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                หุ้น หมายความว่าการออมทรัพย์ในรูปแบบหนึ่ง โดยมูลค่าหุ้นให้เป็นไปตามที่กองทุนกำหนด และสมาชิกจะได้รับคืนเมือพ้นสภาพการเป็นสมาชิก
                เงินฝากสัจจะหมายความว่าเงินที่สมาชิกตกลงที่จะฝากหรือออมไว้กับกองทุน ตามแต่จะแสดงเจตนาไว้ต่อที่ประชุมสมาชิก โดยให้ถือว่าเงินออมเป็นเงินสะสม และจะถอนหรือปิดบัญชีได้ต่อเมือ พ้นสภาพการเป็นสมาชิกตามระเบียบ หรือข้อบังคับที่กองทุนกำหนด
                สมาชิก หมายความว่า สมาชิกกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง
                ที่ประชุมสมาชิก หมายความว่า ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือที่ประชุมใหญ่วิสามัญ

ข้อ๕. ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงรักษาตามข้อบังคับนี้




หมวดที่๒
หลักการ ปรัชญาและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน

ข้อ๖. ปรัชญาหรือหลักการสำคัญของกองทุนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง คือ
(๑)เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น
(๒)ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการกับหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาตนเอง
(๓)เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้วยโอกาสและชุมชน
(๔)เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชน และประชาสังคม
(๕)เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน
ข้อ๗. วัตถุประสงค์ของกองทุน ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ดังต่อไปนี้
(๑)เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้และลดรายจ่าย หรือสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้าง สวัสดิภาพ สวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นใด ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
(๒)เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนเมือง
(๓)รับฝากเงินจากสมาชิก และจัดหาแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์
(๔)ให้กู้ยืมเงินแก่กองทุนหมู่บ้านอื่น เพื่อประโยชน์ในการสร้างความเข้มแข็ง ให้เศรษฐกิจของหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๕)กระการใดๆเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต สวัสดิภาพ และสวัสดิการของสมาชิกหรือประชาชนในหมู่บ้าน รวมทั้งเสริมความเข้มแข้งทางเศรษฐกิจและสังคมของกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

หมวดที่๓
สมาชิกกองทุน

ข้อ๘. ในระยะแรกสมาชิกกองทุนให้มีได้เฉพาะสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดาเท่านั้น

ข้อ๙. คุณสมบัติของสมาชิก
                (๑) ต้องบรรลุนิติภาวะ ตามกฎหมาย หรือไม่บรรลุนิติภาวะผู้ปกครองต้องรับรองในทุกกรณี
                (๒) เป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่จริง และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ในหมู่บ้านไม่น้อยกว่าหกเดือน
                (๓) มีความรู้ความเข้าใจ เห็นชอบด้วยในหลักการของกองทุน และสนใจที่เข้ามามีส่วนร่วม
                (๔) เป็นผู้มีความประพฤติดี ประกอบอาชีพการงานเป็นหลักแหล่ง
                (๕)เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบบประชาธิปไตย
                (๖) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๗) เป็นผู้ที่พร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบของกองทุน
                (๘) เป็นผู้ที่คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้เข้าเป็นสมาชิก
                (๙) เป็นผู้ที่มีความอดทน เสียสละ และเห็นแก่ประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ
                (๑๐) จะต้องถือหุ้นในกองทุนอย่างน้อยหนึ่งหุ้น และต้องไม่เกินหนึ่งในห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่กองทุนมีอยู่
                (๑๑) ต้องไม่เป็นนักบวชตามศาสนาหรือลัทธิใด

ข้อ๑๐. การเข้าเป็นสมาชิก
(๑)ยื่นใบขอเป็นสมาชิกกองทุนที่สำนักงานกองทุน
(๒)เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ9 ต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเอง
(๓)กรรมการกองทุนจะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติของสมาชิก  และแจ้งให้สมาชิกทราบ และแจ้งให้บุคคลนั้นมาชำระค่าธรรมเนียม  ค่าหุ้น หรือเงินฝากสัจจะ ภายในสามวันนับจากวันที่ได้รับแจ้งให้เข้าเป็นสมาชิก
(๔)คณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะรับหรือไม่รับบุคคลใดเข้าเป็นสมาชิกโดยชอบธรรม
(๕)ในการออกเสียงลงมติเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบในที่ประชุมใหญ่ สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิออกเสียงคนละหนึ่งเสียง

ข้อ๑๑. การพ้นสภาพการเป็นสมาชิก จะมีได้ด้วยเหตุต่อไปนี้
(๑)ตาย
(๒)ลาออก และได้รับอนุมัติให้ลาออกจากคณะกรรมการกองทุน
(๓)วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๔)ที่ประชุมใหญ่สมาชิก มีมติให้ออก ด้วยคะแนนเสียงสองในสามของผู้เข้าร่วมประชุม
(๕)จงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของกองทุนหรือมติของคณะกรรมการ แสดงตนเป็นปรปักษ์ หรือไม่ให้ความช่วยเหลือร่วมมือกับกองทุนไม่ว่าด้วยประการใด
(๖)จงใจปกปิดความจริงอันควรแจ้งให้ทราบในใบสมัครการเป็นสมาชิก
(๗)นำเงินที่กู้จากกองทุน ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้

ข้อ๑๒.การลาออกตามข้อ๑๑(๒)สมาชิกต้องไม่มีหนี้สินหรือภาระผูกพันใดๆกับกองทุนในฐานะผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน ลาออกจากการเป็นสมาชิกได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณาให้ขาดจากการเป็นสมาชิกในวันที่คณะกรรมการอนุมัติ 
                การติดต่อกับกองทุนสมาชิกสามารถติดต่อด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ ตามภูมิลำเนาของกองทุนตามข้อ๒

ข้อ๑๓. ผู้ที่ขาดจาการเป็นสมาชิกภาพตามข้อ๑๑(๒)อาจยื่นแบบขอเป็นสมาชิกใหม่แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นผู้ขาดจากการเป็นสมาชิกติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า  ๒ ปี

ข้อ๑๔. การคิดค่าธรรมเนียมแรกเข้ากับสมาชิก รายละ ๒๐ บาท โดยสมาชิกจะต้องชำระเมือได้รับการพิจารณาตามข้อ๑๐(๓) และจะต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในเวลา สามวันนับจากวันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการกองทุน

ข้อ๑๕.  มูลค่าหุ้นๆหนึ่งมีมูลค่าหุ้นละ ๕๐ บาท สมาชิกแรกเข้าตามข้อ๑๐(๓)จะต้องซื้อหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น แต่ต้องไม่เกินหนึ่งในห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในกองทุน โดยชำระหุ้นและเพิ่มหุ้นได้ ปีละหนึ่งครั้ง ตามมติของคณะกรรมการกองทุน

ข้อ๑๖. การระดมเงินทุนเงินฝาก เงินฝากสัจจะ สมาชิกทุกคนจะต้องส่งเงินฝากสัจจะทุกเดือนๆละเท่าๆกัน ในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๕๐ บาทและสูงสุดไม่เกินเดือนละห้าร้อยบาทต่อเดือนในวันที่คณะกรรมการกองทุนกำหนดสามารถเพิ่มเงินฝากสัจจะได้ปีละหนึ่งครั้งในวันที่คณะกรรมการกำหนด เงินฝากสัจจะจะถอนและปิดบัญชีได้ต่อเมื่อพ้นสภาพการเป็นสมาชิก ส่วนเงินฝากอื่นๆให้เป็นไปความสมัครใจของสมาชิก และมติของคณะกรรมการ
ข้อ๑๗. การประชุมใหญ่สมาชิกในแต่ละปี  ครั้งแรกให้เรียกว่าการประชุมใหญ่สามัญ ส่วนการประชุมใหญ่ในครั้งต่อๆไปให้เรียกว่าการประชุมใหญ่วิสามัญ
                ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระต่อไปนี้รวมอยู่ในที่ประชุม
(๑)งบดุลแต่ละบัญชี
(๒)จำนวนสมาชิก รายชื่อสมาชิกที่ลาออก และเข้าใหม่
(๓)จำนวนสมาชิกที่ค้างชำระหนี้
(๔)รายชื่อกรรมการที่ลาออก(ถ้ามี)

ข้อ๑๘. ในการประชุมใหญ่สมาชิกประจำปีอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง เพื่อจ้าผลการดำเนินงานของกองทุน รับรองงบดุลหรือเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ เพื่อความเหมาะสมและให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของกองทุนให้เข้มแข็ง

ข้อ๑๙. ในการประชุมใหญ่สมาชิกจะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดจึงจะครบองค์ประชุม สมาชิกอาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนก็ได้ แต่ผู้รับมอบอำนาจนั้นจะรับมอบอำนาจจากสมาชิกเกินกว่าหนึ่งรายมิได้
                ในการประชุมครั้งใด ถ้ามีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้นัดประชุมใหม่อีกครั้งภายใน๑๕วันนับแต่วันนัดประชุมครั้งแรก
                ในการประชุมครั้งหลัง ถ้าไม่ใช่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี เมื่อมีสมาชิกมาร่วมประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ให้ถือเป็นองค์ประชุม
                สมาชิกหนึ่งคนให้มีสิทธิออกเสียงได้หนึ่งเสียงในลงคะแนน ถ้าวาระใดมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงอีกเสียงหนึ่ง ถือว่าเป็นเสียงชี้ขาด
                การชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน
                ในออกเสียงของสมาชิกจะออกโดยวิธีลับหรือเปิดเผย และแต่ในที่จะชุมจะมีมติตกลงกันก่อนลงมติ



ข้อ๒๐. ถ้าสมาชิกกองทุนจำนวนหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดร่วมกันทำหนังสือโดยลงลายมือชื่อเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนเรียกประชุมสมาชิกเพื่อเพื่อแก้ไขปัญหา ข้อเรียกอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสมาชิก และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งกับคณะกรรมการกองทุน หรือการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุน
                ในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการกองทุนจะต้องเรียกประชุมโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน ๑๐ วันจากวันที่กองทุนได้รับหนังสือร้องขอดังกล่าว
                ในการประชุมนี้ ถือว่าเป็นการประชุมใหญ่สมาชิก

ข้อ๒๑. ความรับผิดชอบทางแพ่งของสมาชิก
                ค่าหุ้นและเงินฝากสัจจะนั้นสมาชิกจะได้คืนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนต่อเมื่อสมาชิกพ้นสภาพเท่านั้น
                ส่วนเงินฝากของสมาชิก สมาชิกจะใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ตามระเบียบกองทุน
                ในกรณีพ้นสภาพสมาชิก ถ้าสมาชิกผู้นั้นมีภาระหนี้กับกองทุน ไม่ว่าจะเป็นหนี้จากเงินกู้ สัญญาค้ำประกัน หรือหนี้อื่นๆ ที่ชัดเจนแล้ว แม้นจะเป็นนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ กองทุนมีสิทธิหักลบกลบหนี้ระหว่างจำนวนหนี้ดังกล่าวเต็มจำนวนกับค่าหุ้น เงินฝากสัจจะ หรือเงินฝากของสมาชิก(ถ้ามี)
หมวดที่๔
คณะกรรมการกองทุน

ข้อ๒๒. คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๙ คน ด้วยจำนวนกรรมการชายและหญิงให้มีสัดส่วนใกล้เคียงกันเท่าทีจะเป็นไปได้ ซึ่งมาจากการคัดเลือกกันเองโดยสมาชิก

ข้อ๒๓. กรรมการกองทุนต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามดังนี้
(๑)เป็นผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน และอาศัยอยู่ในหมู่บ้านติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปี ก่อนวันที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการกองทุน
(๒)เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
(๓)ปฏิบัติตนอยู่ในศาสนา มีความรับผิดชอบ เสียสละ ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และไม่มีประวัติเสียทางด้านการเงิน
(๔)ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนคนไร้ความสามารถ
(๕)ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือต้องพ้นโทษไม่น้อยกว่าห้าปี เว้นแต่เป็นโทษที่กระผิดที่กระทำโดยประมาท 
(๖)ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ยกเว้นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และความผิดฐานบุกรุก
(๗)ไม่เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ องค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตหน้าที่ หรือสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ราชการ องค์กร หรือหน่วยงานที่สังกัด
(๘)ไม่เป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่เสียสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
(๙)ไม่เป็นผู้ที่เคนพ้นจากตำแหน่งกรรมการกองทุน ตามข้อ ๒๖(๓)(๔)
(๑๐)ไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติการที่ทางราชการกำหนด

ข้อ๒๔. กรรมการกองทุนประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆรวม9ตำแหน่งดังนี้
(๑)ประธานกรรมการ
(๒)รองประธานกรรมการ
(๓)เลขานุการ
(๔)เหรัญญิก
(๕)ผู้ตรวจสอบภายใน
(๖)ฝ่ายทะเบียน
(๗)ฝ่ายปฏิคม
(๘)ฝ่ายประชาสัมพันธ์
(๙)ฝ่ายตรวจสอบเอกสารการกู้เงิน
กองทุนอาจมีที่ปรึกษาได้ไม่เกิน ๕ คน มีหน้าที่ให้ความเห็นต่อที่ประชุมกรรมการ แต่ไม่มีสิทธิลงมติ



ข้อ๒๕. กรรมการกองทุนมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี
                ในกรณีที่กรรมการพ้นตำแหน่งตามวาระ คณะกรรมการกองทุนประด้วยคณะกรรมการกองงทุนทั้งหมดเท่าที่มีอยู่และจะจัดให้มีการคัดเลือกสมาชิกเข้าดำรงตำแหน่งแทนกรรมการกองทุน ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระโดยมติที่ประชุมใหญ่สมาชิก
                กรรมการคนใดที่พ้นวาระ อาจได้รับเลือกอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันไม่ได้ กรรมการคนใดจะดำรงตำแหน่งเกินกว่าสองสมัยติดต่อกันจะต้องได้รับมติจากที่ประชุมใหญ่สมาชิกไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุม

ข้อ๒๖ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการกองทุนเมือ
(๑)   ตาย
(๒)  ลาออกต่อที่ประชุมใหญ่สมาชิก
(๓) ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวนคณะกรรมการกองทุนทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(๔)  ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(๕)  มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ๑๑(๔)(๕)(๖)และ(๗)
(๖)   ทางราชให้ออกเนื่องจากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ๑๔
(๗) ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระคณะกรรมการกองทุนอาจแต่งตั้งบุคคลจากสมาชิกเข้าดำรงตำแหน่งแทนกรรมการกองทุนก็ได้ และให้ผู้ที่การแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือของผู้ที่ตนแทน

ข้อ๒๗. องค์ประชุมของการประชุมคณะกรรมการกองทุน ต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุม เกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงจะเป็นองค์ประชุม
                ถ้าประธานกองทุนไม่สามารถมาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม
                ถ้ารองประธานไม่สามารถมาประชุมได้ให้เลือกกกรมการคนใดคนหนึ่งประธานในการประชุม
                การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงเพียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประออกเสียงเพิ่มเป็นหนึ่งเสียง ซึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
                กรรมการคนใดมีส่วนได้ส่วนเสียเป็นการส่วนตัวเรื่องใดห้ามมิให้เข้าประชุมในวาระนั้น

ข้อ๒๘. คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจดังนี้
(๑)   บริหารกองทุนหมู่บ้าน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับ ดูแล และจัดสรรดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
(๒) ออกประกาศ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ที่เกี่ยวกับบริหารกองทุน
(๓) จัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน
(๔)  รับสมาชิกและจัดทำทะเบียนสมาชิก
(๕) จัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนตามประกาศที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด
(๖)   พิจารณาเงินกู้ยืมให้แก่สมาชิกหรือกองทุนหมู่บ้านอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนใขที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด
(๗) ทำนิติกรรม สัญญา หรือดำเนินการเกี่ยวกับภาระผูกพันของกองทุน
(๘) จัดทำบัญชีของกองทุนหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด
(๙)   สำรวจและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ อุตสาหกรรมครัวเรือน และวิสาหกิจชุม ในเขตพื้นที่หมู่บ้านตลอดจนข้อมูลและการดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนอื่นๆที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
(๑๐)           พิจารณาดำเนินการใดๆ เพื่อสวัสดิภาพ สวัสดิการ หรือผลประโยชน์ส่วนรวมอื่นใดของสมาชิก
(๑๑)           ดำเนินการอื่นใดเพื่อให้สอดรับและเกื้อกูลกับกองทุนอื่นๆ
(๑๒)          ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน
(๑๓)          รายงานผลการดำเนินการ ปัญหา และอุปสรรครวมทั้งฐานะการเงินของกองทุนหมู่บ้าน ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติทราบ อย่างน้องปีละหนึ่งครั้ง ตลอดจนรายเรื่องดังกล่าวให้สมาชิกทราบตามที่คณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด
(๑๔)          ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนดหรือมอบหมาย

  การดำเนินการใดๆตาม(๑๐) ให้ใช้จ่ายเงินรายได้ของกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งมิใช่เงินที่รับการจัดสรรจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ข้อ๒๙.ประธานกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
                (๑) เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนและการประชุมใหญ่สมาชิก
                (๒) เรียกประชุมคณะกรรมการกองทุน
                (๓) แต่งตั้งอนุกรรมการกองทุนเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดตามคณะกรรมการกองทุนมอบหมาย
                (๔)ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามข้อบังคับ และมติของกรรมการกองทุน

ข้อ๓๐. รองประธานกรรมการกองทุน ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการกองทุน เมื่อประธานกรรมการกองทุนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อประธานกรรมการกองทุนมอบหมายให้ทำการแทน

ข้อ๓๑. ถ้าประธานกรรมการกองทุนละรองประธานกรรมการกองทุนไม่สามารถปฏิบัติหน้าในการประชุมคราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการกองทุนคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสำหรับการประชุมในคราวนั้น

ข้อ๓๒. เหรัญญิก มีหน้าที่จัดเก็บดูแลรักษาเงินกองทุน และรายได้ของกองทุน รวมทั้งจัดทำบัญชี พร้อมทั้งควบคุมการจ่ายเงินของกองทุนให้เป็นไปอย่างรอบคอบ และเกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อ๓๓. เลขานุการ มีหน้าที่ติดต่อประสานงานทั่วไป นัดประชุมคณะกรรมการกองทุนจดและบันทึกรายงานการประชุม ตลอดจนรายงานการดำเนินงานของกองทุน

ข้อ๓๔. ผู้ตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชี กำกับดูแลเงินกองทุน ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการกองทุนกำหนด รวมทั้งประเมินผลการทำงานของกองทุน

ข้อ๓๕. ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์ ให้ข่าวสารแก่สมาชิก และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

ข้อ๓๖. กรรมการกองทุนอื่นๆ มีหน้าที่ตามคณะกรรมการกองทุนกำหนดมอบหมาย

ข้อ๓๗. คณะกรรมการกองทุนจะต้องมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ถ้ามีความจำเป็นประธานอาจเรียกประชุมได้มากกว่าหนึ่งครั้ง

ข้อ๓๘. เมื่อกรรมการครบวาระหรือพ้นจากตำแหน่ง ให้มีการส่งมอบงานในหน้าที่ต่อประธานคณะกรรมการ หรือกรรมการที่ทำหน้าที่นั้นๆ




หมวดที่๕
ทรัพย์สินของกองทุน

ข้อ๓๙. ทรัพย์สินของทุน คือทรัพย์สินตามที่พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ ได้บัญญัติให้มีได้ทั้งหมด ๖ รายการคือ
                (๑) เงินที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จัดสรรให้
                (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
                (๓) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้น หรือฝากไว้กับกองทุนหมู่บ้านตามระเบียบที่กรรมการกำหนด
                (๔) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาค โดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใดๆ
                (๕) ดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน
                (๖) เงินที่กู้มาจากแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่มทุน และดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา๕ วรรค๒ (๓) และมาตรา๙ (๕)




หมวดที่6
การเงินกู้ยืมกองทุน

ข้อ๔๐. สมาชิกกองทุนสามารถยื่นคำขอกู้เงินต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อนำไปใช้จ่ายในกิจกรรมดังต่อไปนี้
(๑)   เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้และลดรายจ่าย
(๒) เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนสำหรับสมาชิก

ข้อ๔๑. การอนุมัติเงินกู้ สมาชิกที่ประสงค์จะกู้เงินจะต้องจัดทำคำขอกู้เงินจากกรรมการ และต้องระบุวัตถุประสงค์ และรายละเอียดต่างให้ชัดเจน
กองทุนจะให้กองทุนหมู่บ้านอื่นๆ(นิติบุคคล) กู้ยืมเงินต้องเป็นตามระเบียบของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และมีมติของที่ประชุมสมาชิกเห็นชอบแล้ว


ข้อ๔๒. การขอกู้เงินของสมาชิกตามข้อ๔๐ จะต้องมีรายละเอียดชัดเจนครบถ้วนสมาชิกผู้ขอกู้จะต้องรับผิดชอบในกรณีข้อความระบุในใบคำขอเป็นเท็จ

ข้อ๔๓ กำหนดวงเงินกู้ และหลักประกัน
๑)      ถ้าเป็นการกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน จำเป็นเร่งด่วนตามข้อ๔๐(๒) ให้อนุมัติได้ไม่เกินรายละ ๒๐,๐๐๐บาท(สองหมื่นบาท)โดยมีผู้ค้ำประกันหนึ่งคน
๑๐
๒)    ถ้าเป็นการกู้เพื่อเหตุต่างๆตามข้อ๔๐(๑) ให้อนุมัติเงินกู้ได้ไม่เกินคนละ ๕๐,๐๐๐บาท(ห้าหมื่นบาท) ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
๒.๑)ถ้าอนุมัติเงินกู้รายละไม่เกิน ๒๐.๐๐๐บาทจะต้องผู้ค้ำประกัน ๒ คนและต้องไม่เกิน ๓ เท่าของเงินฝากสัจจะของสมาชิกผู้กู้
๒.๒) ถ้าอนุมัติให้กู้เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทแต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท(ห้าหมื่นบาท)จะต้องให้สมาชิกอื่นค้ำประกันไม่น้อยกว่า ๒ คน จะต้องไม่เกิน ๓ เท่าเงินฝากสัจจะของสมาชิกผู้กู้และให้ที่ประชุมสมาชิกมีมติเห็นชอบด้วย
๒.๓)  ถ้าอนุมัติเกิน ๕๐,๐๐๐ บาทแต่ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะ ต้องไม่เกิน ๓ เท่าของเงินฝากสัจจะของสมาชิกผู้กู้ ที่ประชุมสมาชิกเห็นชอบ จะต้องจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ ตามราคาประเมินของทางราชการเป็นหลักประกัน
      การทำนิติกรรม สัญญากู้ สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนองให้เป็นโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบราชการที่เกี่ยวข้อง ถ้าจะภาระภาษีหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้เป็นภาระหน้าที่ของสมาชิกผู้กู้
      สมาชิกจะค้ำประกันสัญญากู้เกินกว่า ๒ รายไม่ได้


ข้อ๔๔. การทำสัญญาเงินกู้ ทุกประเภทต้องทำสัญญากับกองทุนตามแบบที่กองทุนกำหนด รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่ขัดกับระเบียบข้อบังคับ และบทบัญญัติของกฎหมาย


ข้อ๔๕. ภายใต้บังคับข้อ๒๘ ในการทำหน้าที่ผู้แทนนิติบุคคลของคณะกรรมกรากองทุน ให้กรรมการแต่ละคนมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)   การทำนิติกรรมใดๆที่ผูกพันกองทุนเป็นหน้าที่ของประธาน(หรือรองประธาน)และเลขานุการคณะกรรมการ
(๒) การเบิก ถอนและฝากเงินในบัญชีธนาคาร ให้มีจำนวนสองในสามคนของคณะกรรมการต่อไปนี้
ประธาน
เหรัญญิก
เลขานุการ
            (๓)กรณีอื่นๆให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนเป็นเฉพาะกรณี
ข้อ๔๖. อัตราดอกเบี้ยและค่าปรับ
                (๑)อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ๑๒ต่อปี
                (๒)อัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ๓ต่อปี
        ค่าปรับในกรณีผู้กู้ผิดสัญญาเงินกู้ ให้ผู้กู้เสียค่าปรับในอัตราร้อยละ๐.๕๐ต่อวัน เว้นแต่ผู้ได้รับการผ่อนผันชำระหนี้จากคณะกรรมการกองทุน




๑๑
ข้อ๔๗. ในกรณีผู้กู้/ยืม  ไม่ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมโดยปราศจากเหตุอันควร กรรมการมีอำนาจยกเลิกสัญญา และเรียกเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย หรือค่าตอบแทนที่ค้างชำระเต็มจำนวนได้ทันที กรรมการมีสิทธิขับไล่
สมาชิกท่านนั้นพ้นสมาชิกภาพด้วยสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด กรณีนี้สมาชิกจะสมัครใหม่จะต้องพ้นระยะเวลาสามปี

หมวดที่๗
การทำบัญชีและการตรวจสอบ

ข้อ๔๘. ให้คณะกรรมการกองทุนจัดทำบัญชีตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด อย่างน้อยเดือนละครั้ง และแจ้วให้สมาชิกทราบ รวมทั้งจัดสรุปผลการดำเนินงานประจำปีต่อที่ประชุมสมาชิกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
                คณะกรรมการกองทุน ต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายใน เกี่ยวกับบริหารจัดการ การเงิน การบัญชี และการพัสดุ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมการตรวจสอบของสมาชิกเป็นหลัก  คณะกรรมการกองทุนมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบกองทุน

ข้อ๔๙. ให้คณะกรรมการกองทุนจัดทำรายการเงิน ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด และส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด ภายในระยะเวลา๓๐วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีทุกปี          ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุน เพื่อทำหน้าที่ประเมินการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของกองทุน และทำบันทึกรายงานตรวจสอบเป็นเอกสารเผยแพร่ต่อสมาชิกและสาธารณชน

ข้อ๕๐. การจัดสรรกำไรสุทธิ เมื่อสิ้นปีทางบัญชี หากปรากฏว่าปีใดมีกำไรสุทธิ คณะกรรมการกองสามารถนำกำไรสุทธิมาจัดสรรตามระเบียบปละหลักเกณฑ์ที่กองทุนกำหนดดังนี้
                (๑) เงินปันผลค่าหุ้น                               ในอัตราร้อยละ........................
                (๒)เงินประกันความเสี่ยง                      ในอัตราร้อยละ.......................
                (๓)เงินเฉลี่ยคืนให้กับผู้กู้                        ในอัตราร้อยละ.......................
                (๔)เงินค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุนในอัตราร้อยละ...................
                (๕)เงินทุนการศึกษาและพัฒนาอาชีพของประชากรในหมู่บ้านในอัตราร้อยละ......................
                (๖)เงินทุนเพื่อสมทบกองทุน                 ในอัตราร้อยละ......................
                (๗)เงินทุนเพื่อสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้านในอัตราร้อยละ.........
                กองทุนจะจัดทำบัญชีเงินและค่าใช้จ่ายของกองทุนเดือนละหนึ่งครั้งและติดประกาศอย่างเปิดเผย ณ ที่ทำการกองทุนให้สมาชิกทราบ โดยมีบัญชีจะต้องดำเนินการดังนี้
                (๑)บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
                (๒)รายรับ-รายจ่าย ของกองทุน
                (๓)สินทรัพย์และหนี้สินของกองทุน

ข้อ๕๑.คณะกรรมการกองทุน จะต้องตรวจสอบบัญชีกองทุนและรายการตรวจสอบบัญชีต่อคณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานระดับอำเภอ เพื่อทราบความก้าวหน้า ฐานะการเงินและผลการดำเนินการ
๑๒
กองทุน ทุกสามเดือนและทุกรอบปี พร้อมทั้งแสดบัญชีกำไร-ขาดทุน และงบดุลในบัญชีที่ดำเนินการมาภายในระยะเวลา๑๒๐วันนับแต่วันสินบัญชี

ข้อ๕๒.การเปลี่ยนแปลง ยกเลิก หรือเพิ่มเติมข้อบังคับ ต้องเป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่สมาชิก

หมวดที่๘
การเลิกกองทุน

ข้อ๕๓.การเลิกกองทุนหมู่บ้านจะกระทำได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
                ๑.ตามคำสั่งศาล
                ๒.นายทะเบียนมีคำสั่งให้เลิก
                ๓.ที่ประชุมใหญ่สมาชิกมีมติด้วยคะแนนเสียงสามในสี่ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่

บทเฉพาะกาล

ข้อ๕๔.เพื่อปัญหาหนี้สินให้กับสมาชิกคณะกรรมการอาจจัดตั้งกองทุนพิเศษขึ้นเพื่อช่วยเหลือสมาชิกโดยคณะกรรมการสามารถกำหนดระเบียบข้อบังคับและแจ้งสมาชิกทราบในภายหลังได้

ข้อ๕๕.กรรมการที่เข้ามาใหม่ให้อยู่ในวาระ๒ปีตามข้อบังคับโดยเมือครบหนึ่งปีให้คณะกรรมการด้วยกันเองจับฉลากออกออกกึ่งหนึ่ง ส่วนกรรมการที่ไม่ถูกจับฉลากออกให้อยู่จนครบวาระ ๒ ปี แล้วให้มีการเลือกตั้งแทนกรรมการที่หมดวาระ  
(๑)หากมีกรรมการลาออก ให้กรรมการเท่าเหลืออยู่ทำหน้าที่ไปจนกว่าจะมีการเลือกกรรมการใหม่ได้
(๒)หากกรรมการลาออกทั้งคณะ ให้มีการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และปฏิบัติตามข้อ ๕๕ต่อไป




                           ประกาศ    วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

                 
                   ลงชื่อ........................................................ประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ้านกลาง
                                    (  นายเจริญ  ศรีสวัสดิ์ )